ลุดวิก แวน บีโธเฟน (Ludwig Van Beethoven) บุรุษผู้เปี่ยมไปด้วยพรสวรรค์อันอัจฉริยะในเชิงดนตรี เค้ามีแนวดนตรีที่แตกต่างจากแนวดนตรีทั่วไปในสมัยนั้น จนออกมาเป็นแนวดนตรีคลาสิคที่ในสมัยนั้นยังไม่ได้มีผู้ใดรังสรรค์ และต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่าเป็นแนวดนตรีที่แปลกแยก แต่คีตกวีรายนี้มีความยิ่งใหญ่อีกอย่างหนึ่งอยู่ที่ความไม่ย่อท้อต่อเคราะห์กรรมที่ได้เกิดขึ้นกับร่างกายของเขา นั่นคืออาการทางประสาทหู จนถึงขั้นดับสนิท บีโธเฟ่นผู้ที่ไม่เคยตายจากวงการดนตรีคลาสสิค ได้สร้างเสียงเพลงอมตะประดับโลกของเราเอาไว้ให้งดงามถึงแม้หูของเขาจะหนวกสนิท!บีโธเฟน เกิดที่กรุงบอนน์ (อดีตเมืองหลวงประเทศเยอรมนีตะวันตก) เมื่อปลายปี ค.ศ.1770 เป็นลูกชายของนักร้องประจำราชสำนักแห่งกรุงบอนน์ ชื่อว่า โยฮานน์ (Johann) และแม่ชื่อว่า มาเรีย แมกเดเลน่า ( Maria Magdalena) มีชีวิตความเป็นอยู่ในวัยเด็กที่ค่อนข้างลำบาก เพราะครอบรัวยากจน และมีพ่อเป็นนักร้องขี้เมา ซึ่งได้พยายามปั้นบีโธเฟนให้เป็น “โมสาร์ท สอง” เพื่อหวังให้หาเงินเลี้ยงครอบครัว (บีโธเฟนเกิดหลังโมสาร์ท 15 ปี)บีโธเฟนน้อยได้ถูกพ่อขี้เมาบังคับให้ฝึกเรียนเปียโนที่ยาก ตั้งแต่วัยเพียง วัย 4-5 ขวบ และถ้าเล่นไม่ได้จะถูกทำโทษ แต่ที่บีโธเฟนยังรักดนตรีอยู่ อาจจะเพราะคุณปู่ซึ่งเป็นนักร้องประจำราชสำนักที่ประสบความสำเร็จบีโธเฟน ทำงาน(ครั้งแรก) เลี้ยงครอบครัวตั้งแต่อายุ 11 ขวบ โดยทำงานเป็นนักออร์แกน ผู้ช่วยประจำราชสำนัก โดยในขณะนั้นเขามีความรู้เพียงชั้น ป.4 แต่ได้พยายามศึกษาเล่าเรียนดนตรีจนมีความสามารถด้านการประพันธ์เพลง และบีโทเฟ่นได้เล่นเปียโนสดให้โสสาร์ท ฟังเป็นครั้งแรก และทำให้โมสาร์ทต้องตะลึง ในวัยเพียง 17 ปีเท่านั้น ที่กรุงเวียนนา และจากนั้นเพียง 2 สัปดาห์ต่อมา เขาต้องรีบกลับกรุงบอนน์ เพราะแม่ป่วยหนักและเสียชีวิต และเขายังคงดูแลพ่อและน้องอีก 2 คนด้วยการทำงานหนักเช่นเดิมปี ค.ศ.1792 บีโธเฟ่นได้มีโอกาสแสดงผลงานต่อหน้า โยเซฟ ไฮเดน (Joseph Haydn) ปรมาจารย์ทางดนตรีที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งยุค เดินทางกลับจากอังกฤษ ได้แวะเยี่ยมเยียนราชสำนักกรุงบอนน์ ทำให้ไฮเดนทึ่งในความสมารถและรับเขาเป็นศิษย์ และพากลับไปเรียนที่กรุงเวียนนาด้วยด้วยบีโทเฟ่นเป็นคนหนุ่มไฟแรงอารมณ์ร้อน หยิ่ง และดื้อรั้น จึงก็ไม่พอใจการสอนของไฮเดน แต่ก็ยังเกรงใจอาจารย์ผู้อาวุโส เขาจึงแอบย่องไปเรียนกับนักดนตรีผู้มีชื่อเสียงหลายคนหลังจากจบการศึกษากับอาจารย์ ไฮเดนและอื่นๆ ในปี 1795 บีโธเฟ่นได้แสดงผลงานเพลงและเริ่มสร้างชื่อเสียงในฐานะนักประพันธ์ดนตรีอย่างเต็มตัว ทำให้ผลงานเพลงยุคแรกของบีโธเฟน จะคล้ายคลึงกับดนตรีของไฮเดน และโมสาร์ท แต่ยังคงมีกลิ่นอายของบีโธเฟนอยู่ ทำให้เขาได้รับการยอมรับจากสาธารณชนอย่างรวดเร็วผลงานของบีโธเฟนในช่วงแรกที่น่าสนใจ คือ เปียโนทรีโอ 1 เปียโนโซนาตา 2 เปียโนโซนาตา 7 เปียโนโซนาตา 13 (Pathetique) เป็นต้น
บีโธเฟน เริ่มแต่งเพลงแหกกฎเกณฑ์ทางดนตรี และออกนอกรีตนอกรอยมากขึ้น จึงเกิดเป็นยุคโรแมนติก (Romantic Period)เขามีแนวความคิดเป็นนักปฏิวัติทั้งในด้านดนตรีและความคิดทางสังคม โดยสอดแทรก ความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์ของตนลงในดนตรี ซึ่งไม่ใช่วิสัยในยุคนั้น (ที่เรียกว่า Classical period) ดนตรีขั้นสูงคือรูปแบบทางศิลปที่สมบูรณ์ สูงส่ง และอยู่เหนือความเป็นมนุษย์ แต่สิ่งที่บีโธเฟนกำลังทำอยู่นั้นกลับเป็นการพลิกโฉมหน้าของโลกศิลปการดนตรี และทำให้นักวิชาการด้านดนตรี ต้องตั้งชื่อยุคของดนตรีขึ้นใหม่ ที่เรียกว่า ยุคโรแมนติก (Romantic Period)
บีโธเฟน ประสบความสำเร็จแต่เริ่มมีอาการหูหนวก ปี ค.ศ.1802
บีโธเฟนประสบความสำเร็จในด้านการงานได้ไม่นาน แต่เขากลับได้รับของขวัญส่งท้ายศตวรรษเก่าเข้าสู่ศตวรรษใหม่ นั่นคือ อาการหูหนวก ซึ่งเป็นเคราะห์กรรมที่น่าเกลียดสำหรับนักดนตรี วันที่ 6 ตุลาคม ปี ค.ศ.1802 เขาได้เขียนจดหมายกึ่งลาตายกึ่งพินัยกรรม ถึงน้องชายทั้งสองของเขา แต่อีก 4 วันต่อมาก็เขียนอีกฉบับมีใจความล้มเลิกความคิด บีโธเฟนได้ค่อยๆ รักษาแผลในใจ จนจิตใจเขาแข็งแกร่งกว่าที่เคย เขาเป็นนักดนตรีที่ยิ่งใหญ่ เพราะได้เอาชนะความพิการทางร่างกายโดยแต่งเพลงสู้กับหูหนวก และยังมีผลงานที่ยอดเยี่ยมให้เราได้ชื่นชมจนถึงปัจจุบันนี้